อิทธิพลของเพลงที่ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึก

Influence-music

‘อารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์’ สามารถเกิดได้จากหลายทาง เช่น การถูกสัมผัสด้วยผิวหนัง, การถูกมองด้วยสายตา, การพูดคุยกับบุคคลอื่น, การรับรู้ด้วยเสียง เป็นต้น หากแต่สำหรับในวันนี้เราจะมาเจาะลึกเรื่องการรับรู้ด้วยหูหรือการฟัง โดยหูเป็นอวัยวะที่ใช้ในการรับเสียงเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะบทเพลงสามารถสร้างอารมณ์ให้แก่มนุษย์ได้มาก ซึ่งในปัจจุบันนี้ ก็มีแนวเพลงหลากหลายชนิด มีความแตกต่างกันไป ซึ่งเพลงแต่ล่ะชนิดที่แตกต่างกันเหล่านี้ มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์อย่างไรบ้าง ?

Influence-music-photo

เสียงเพลง กับ อารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์

โดยบทเพลงที่มีลักษณะเป็นเพลงบรรเลงดนตรี จะให้ผลกระทบแก่ผู้ฟังได้มากกว่า เพลงมีเนื้อร้อง การฟังเพลงสามารถส่งผลต่ออารมณ์ของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ทำให้มนุษย์มีอารมณ์คล้อยไปตามจังหวะ สามารถจินตนาการถึงภาพต่างๆ ในมโนทัศน์จากการฟังดนตรี ทั้งนี้มโนทัศน์นั้นจะเป็นเรื่องสุข หรือเศร้า ก็ขึ้นอยู่กับจังหวะของเพลง

ถึงแม้ในอดีตจะมีเครื่องดนตรีเพียงไม่กี่ชิ้น หากแต่ในปัจจุบันนี้ จากการพัฒนาทางเทคโนโลยี ได้มีการนำเครื่องดนตรีที่มีความหลากหลายมาใช้สร้างบทเพลงมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดการสร้างเสียง มีทำนองที่สามารถจะร้องตามได้อีกด้วย สำหรับการฟังทำนองและจังหวะของเพลงบรรเลงอย่างตั้งใจ หรือปล่อยให้จิตใจจมดิ่งไปกับนั้นก็จะสามารถทำให้ผู้ที่ฟังรู้สึกเคลิบเคลิ้มตาม ตลอดจนมีอารมณ์ร่วมกับบทบรรเลงไปได้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียว

โดยในปัจจุบันนี้ มีผู้คนมากมายหันมาใช้ประโยชน์จากจุดนี้ ทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้น เป็นการยกระดับจิตใจ ด้วยการฟังเพลงบรรเลง ซึ่งเรียกว่าการใช้ ‘ดนตรีบำบัด’ หากแต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเลือกใช้เพลงบรรเลงทำนองช้าเป็นหลัก หากแต่มีความไพเราะ งดงาม ไม่ส่อแววถึงความหดหู่ นอนฟังด้วยความผ่อนคลาย ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลความคิด ทำให้มีความคิดที่ดี อีกทั้งยังช่วยปรับทัศนคติในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีอีกด้วย

เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า การรับฟังบทเพลงสามารถทำให้ผู้ฟัง เกิดอารมณ์คล้อยตามได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้การใช้ดนตรีเพื่อการบำบัด จึงไม่ใช่วิธีการรักษาหรือเยียวยาที่เห็นได้อย่างชัดเจนกับภายนอก หากแต่การใช้ดนตรีบำบัดนั้นจะมีผลโดยตรง ต่อสภาพทางจิตใจของผู้เข้ารับการบำบัดนั่นเอง ซึ่งจะทำให้จิตใจมีความอ่อนโยน เป็นการยกระดับจิต พัฒนาจิตใจของตนเอง ได้มากกว่าผู้ไม่ใช้ดนตรีบำบัด ด้วยผลสืบเนื่องกัน เมื่อสภาวะจิตใจมีความสมบูรณ์ ก็จะทำให้ร่างกายภายนอก ทำงานได้ดีขึ้น ความสุขปรากฏทางใบหน้า รวมทั้งมีความคิดที่เฉียบคมขึ้น